วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่อง พ.ร.บ.คอมฯ 50

พ.ร.บ.คอมฯ 2550
รู้ไว้ใช่ว่า..ไม่ยากอย่างที่คิด เคล็ดไม่ลับกับความรู้เรื่องพ.ร.บ.คอมฯ 50
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 10 มิ.ย. 2550 เป็นปีที่ 62 ในรัชกาลปัจจุบัน
ข้อตกลงร่วมกันสำหรับการใช้บริการเว็บไซต์
งดการโพสต์อีเมลและหมายเลขโทรศัพท์ ทั้งของตนเองและของบุคคลอื่น เนื่องจากเว็บไซต์เป็นพื้นที่สาธารณะที่มีบุคคลทั่วไปเข้ามาใช้บริการติดต่อสื่อสาร ซึ่งข้อมูลดังกล่าว อาจทำให้เกิดเหตุอันไม่พึงประสงค์กับผู้ใช้บริการได้
การใส่linkเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์ภายนอกที่เข้าข่ายเป็นเว็บไซต์ละเมิดต่อพ.ร.บ.คอมฯ50
งดการโพสต์รูปภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ และรูปภาพที่ส่งผลเสียหายต่อบุคคลอื่น
พ.ร.บ. คอมฯ ๕๐ มีอยู่ทั้งหมด 17 มาตรา ซึ่งถ้าจะว่ากันจริงๆ แล้ว เราจะนับกันตั้งแต่มาตราที่ 5-17
ที่สำคัญไม่มีอะไรที่ยากเกินกว่าผู้ท่องเว็บอย่างเราจะทำได้ง่ายๆ ดังนี้
1. ใครที่ชอบเผยแพร่ภาพโป๊ เปลือย อนาจาร ตัดต่อภาพลับดารา แม้กระทั่งเก็บไว้เผยแพร่ก็มีสิทธิ์..ติดคุก..
เรื่องของดาราใครๆ ก็อยากรู้จริงไหม ที่เห็นกันชัดๆ ข่าวส่วนมากมักจะเป็นพวกการตัดต่อภาพ และนำเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต การกระทำเช่นนี้ทำให้ดาราหรือบุคคลที่อยู่ในภาพเกิดความเสียหายและได้รับผลกระทบต่อการดำรงชีวิต พ.ร.บ.คอมฯ มาตราที่ 16 จึงถือเป็นมาตราที่ปกป้องสิทธิ์ของคนที่ถูกตัดต่อภาพ ให้มีสิทธิ์สามารถแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่ทำการตัดต่อ เผยแพร่ และเก็บภาพเหล่านั้นไว้เป็นส่วนตัว
2. เจ้าของเว็บไซต์ที่ปล่อยปะละเลย ก็อาจมีความผิดได้
ในฐานะเจ้าของเว็บไซต์ ก็ต้องไม่ปล่อยปะละเลยให้มีผู้เข้ามาก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือกระทำความผิดบนเว็บไซต์ของท่านได้ มิเช่นนั้น ท่านก็จะมีความผิดตามผู้เข้ามาใช้บริการตามไปด้วย
             3. เข้ามาทำผิด แม้อยู่นอกประเทศไทยก็อาจมีสิทธิ์ถูกจับได้
ไม่จำกัดแต่เพียงบ้านเราเท่านั้น แม้อยู่ห่างไกลเพียงไหน หากกระทำความผิด คุณสามารถที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีความได้ โดยจำเป็นต้องประสานงานไปยังประเทศนั้นๆ โดยพิจารณาความผิดตามกฎหมายในประเทศนั้นๆ
4. สำหรับคนอยากรู้อยากเห็นข้อมูลของผู้อื่น ฟังให้ดี
เพียงแค่ล่วงรู้ข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตก็เสียมารยาทอยู่แล้ว ยิ่งหากลักลอบเข้าไปนำข้อมูลออกมาเผยแพร่ และก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง อย่างนี้เรียกว่า การโจรกรรมอย่างไม่น่าให้อภัยเป็นที่สุด
5. ผู้ที่ชอบแกล้งและก่อความรำคาญให้ผู้อื่น ก็ผิดนะ
การส่งเมลขยะให้ผู้อื่น สามารถถูกเอาความผิดได้ หากเข้าข่ายกรณีดังต่อไปนี้
- ส่งต่ออีเมลที่เป็นไวรัส ทำให้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ โทษ คือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ส่งจดหมายบุกรุก หรือที่เรียกว่า สแปมเมล โดยไม่ได้ระบุว่าส่งมาจากใคร ส่วนมากจะเป็นพวกขายสินค้าหรือการโฆษณา โทษ คือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
- หากการกระทำทั้งสองข้อข้างต้น ไปทำให้มีผู้เสียหาย ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ ต่อระบบ เศรษฐกิจ และบริการสาธารณะ โทษ คือ จำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 – 300,000 บาท
- ผู้ที่ผลิต จำหน่ายโปรแกรมให้กับผู้ที่นำไปก่อให้เกิดความเสียหาย โทษ คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. การส่งต่อข้อมูลให้เพื่อน ข้อนี้ก็ต้องระวัง มีเพียง 4 ข้อที่อยากให้ลองอ่าน ก่อนคิดส่งต่ออีเมลนั้นๆ
- มีลักษณะลามกอนาจารหรือไม่
- ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือไม่
- สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ประชาชนทั่วไปหรือไม่ เช่น ภัยโรคระบาด เป็นต้น
- ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรือไม่
*** ซึ่งหากเข้าข่าย 4 ข้อนี้ คงไม่ต้องบอกว่าควรจะทำอย่างไรกับอีเมลหรือข้อความนั้น แต่หากยังส่งต่อออกไปอีกแล้วล่ะก็ โทษ คือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



    ******ผมคิดว่าหลายท่านคงเบื่อกับการนั่งอ่าน พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่ดูเป็นทางการ ดูเครียดๆ ถึงแม้จะอ่านไปบ้างแล้วแต่ก็อ่านไม่จบซักที วันนี้จึงได้นำ พรบ. ที่ดูแล้วสบายตามากกว่าเดิมมาให้ลองอ่านกัน จะได้รับทราบเกี่ยวข้อควรปฏิบัติ และสิ่งที่อาจเป็นภัยต่อตัวท่านได้ ลองอ่านดูนะครับ******


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น