วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

 Social Network คืออะไร

                 Social Network คือการที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง ตัวอย่างของเว็บประเทที่เป็น Social Network เช่น Digg.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเป็น Social Bookmark ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่ง และเหมาะมาก ที่จะนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยในเว็บไซต์ Digg นี้ ผู้คนจะช่วยกันแนะนำ url ที่น่าสนใจเข้ามาในเว็บ และผู้อ่านก็จะมาช่วยกันให้คะแนน url หรือข่าวนั้น ๆ เป็นต้น
                 สำหรับตัวอย่าง Social Network อื่น ๆ เช่น Hi5 หรือว่า Facebook ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น social network เต็มรูปแบบอีกอย่างหนึ่ง ที่ให้ผู้คนได้มามีพื้นที่ ได้ทำความรู้จักกันโดยเลือกได้ว่า ต้องการทำความรู้จักกับใคร หรือเป็นเพื่อนกับใคร เมื่อหันมามองเว็บไซต์ไทย ๆ กันดูบ้าง หากมองว่าเว็บไซต์ Social Network ในไทย จะมีเว็บไหนได้บ้าง ลองดูเว็บไซต์ Social Network ที่มีความชัดเจนในเนื้อหาเฉพาะด้าน เช่น Social Network เรื่องท่องเที่ยว อย่างเว็บไซต์ odoza (โอโดซ่า) ที่ให้คนที่ชื่นชอบในเรื่องท่องเที่ยว ได้มาทำความรู้จักกัน ได้มีพื้นที่ให้ share รูปาพ หรือวีดีโอคลิป ที่ตนเองได้ไปเที่ยวมาได้่
                 Social Network คือ สังคมออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เนทได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ เช่น
o    Hi5
o    Friendster
o    My Space
o    Face Book
o    Orkut
o    Bebo
o    Tagged
                  เว็บ SNS (Social Network Site) เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเว็บที่สร้างขึ้นมาเพื่อการตอบสนองความต้องการในการติดต่อธุรกิจหรือหาเพื่อนบนโลกไซเบอร์ทั้งสิ้น
            เว็บ Hi5 เป็นเว็บที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทย ที่มีผู้ใช้บริการกว่า 7 แสนคน สำหรับหลายคนที่รู้จักและใช้บริการอยู่คงจะไม่ต้องอธิบายกันมาก เพราะคงรู้จุดประสงค์และการใช้งานดีอยู่แล้ว แต่หลายๆคนยังไม่ทราบว่าเจ้า hi5 นี่ใช้งานยังไง มีทำไม และเพื่อประโยชน์อะไร

Hi5.com เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้บริการมาฝาก profile ของตัวเอง คล้ายๆกับ blog เนี่ยแหละ แต่ว่าคนไม่ค่อยไปเขียนอะไรเป็นเรื่องเป็นราวในนั้นซะเท่าไหร่ จะเน้นที่ตกแต่งหน้าตา profile เราให้สวยงาม ดึงดูดคนมาเข้า แต่จุดเด่นของมันอยู่ที่ ระบบ network ที่เรามีโอกาสได้ทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ หรือบังเอิญเจอเพื่อนเก่าสมัยมัธยมเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือเพื่อนของเพื่อน กิ้กเก่า แฟนเก่า .. แต่อีกหลายคนก็สมัครไปงั้นๆไม่ได้อะไรมากเพราะได้รับอีเมลชวนมาเล่น hi5 จากเพื่อน ...
ข้อดี
1. มีโอกาสได้เพื่อนใหม่ๆและ keep connect กับเพื่อนเก่าๆ ที่บางคนอาจจะเลือนหายไปกับความทรงจำ (แต่พอส่ง msg คุยกันก็ไม่รู้จะคุยไร เพราะมันห่างกันมานาน)
2. การเก็บรักษาความส่วนตัว ก็ใช้ได้ระดับหนึ่ง คือ ยังไงๆถ้าเราไม่บอก ไม่ว่าใครก็ไม่รู้อีเมลเรา แต่ถ้าอยากให้รู้ก็เขียนบอกไปเลยก็ได้ หรืออยากรู้ msn ใครก็แมสเสจไปหาเขาตรงๆ
3. วิธีการสมัครง่าย และวิธีการทำ hi5 ให้สวยงามก็ง่าย
4. ข้อดีก็เหมือน blog ทั่วไปๆแหละเพียงแต่คนเล่นนิยม เพราะมันดูทันสมัยและใช้งานง่าย
ข้อเสีย
1. มีการพัฒนาเวบ อาจจะล่มบางครั้ง
2. ใส่ลูกเล่นหรือปรับแต่งอะไรได้ไม่ค่อยเยอะ มันจะมี pattern อยู่แล้ว ก็จะปรับได้ส่วนของแบคกราวน์ สี font ตัวอักษร ใส่เพลง vdoclip ....
3. ไม่มีประโยชน์เท่าบล้อก เพราะคนเข้ามาดูรูปส่วนใหญ่

Friendster (www.friendster.com)
                  Friendster ได้ก้าวขึ้นมาสู่หัวแถวของ Social Network ในประมาณเดือนเมษายน ปี 2004 ก่อนจะถูกไล่แซงโดย My Space ในเรื่องของผู้เข้าชมและจากการจัดอันดับของ Nielsen//NetRatings Frienster ได้รับการยอมรับว่าเป็นคู่แข่งของทั้ง Windows Live Spaces, Yahoo! 360, และ Facebook ในเวลาต่อมาก็ยังมี Hi5 ก้าวเข้ามาเป็นคู่แข่งสำคัญอีกด้วยGoogle เคยยื่นข้อเสนอขอซื้อ Friendster ในมูลค่า 30,000,000 $ แต่ถูกปฏิเสธ เพราะทาง Friendster ตัดสินใจว่าต้องการเป็นของส่วนตัวมากกว่าที่จะยื่นขายให้กับ Google  หลายท่านที่มีประสบการณ์การใช้งานคงจำได้นะครับ จู่ๆ เราก็ได้รับอีเมล์จากเพื่อนของเราบอกว่าเข้าไปสมัครบริการนี้สิ เราก็เข้าไป ลงทะเบียน ใส่ข้อมูลส่วนตัว เสร็จแล้วเราก็พบว่า เรามี เพื่อนอยู่ในระบบทันที 1 คน (คือคนที่ชวนเรามานั่นเอง) หลังจากนั้นก็เราก็ชักคิดถึงเพื่อนคนอื่นๆ ก็ค้นหาจากระบบดูว่ามีเพื่อนเราคงไหนอีกไหมที่ใช้เว็บนี้เหมือนๆ กัน ก็ไปชวนเข้ามาอยู่ในกลุ่มเพื่อนเรา ใครที่ไม่อยู่ เราก็ส่งอีเมล์ไปชวนให้มาเข้าระบบเสีย หลังจากนั้นเราก็อาจเริ่มรู้จักเพื่อนใหม่ๆ จากในระบบนี้เอง คงเป็นเพราะมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมกระมังครับ เราถึงเสียเวลานั่งทำอะไรอย่างที่ว่าได้อย่างเพลิดเพลินและนั่นอาจเป็นเหตุผลว่าทำไม Friendster.com ถึงมีผู้ใช้งานกว่า 7 ล้านคนภายในปีเดียว
        
My Space (www.myspace.com)

                    My Space คือ เว็บบล็อก ที่ทาง msn ให้ผู้ที่ใช้ msn ได้เข้าไปใช้บริการกัน ก็มีคำถามต่ออีกว่า เจ้า webblog คืออะไร สำหรับ เจ้า Web Blog ผมอยากให้เรานึกง่ายๆ ว่ามัน คล้าย ไดอะรี่ แต่ไม่ใช่นะครับ ย้ำ ว่า บล็อก ไม่ใช่ ไดอะรี่ โดยบล็อกจะมีความหลากหลายมากกว่า เพราะในบล็อก ผู้ที่เป็นเจ้าของเนื้อที่นั้น จะเป็นผู้ที่ดูแลเนื้อหา ว่า จะให้เป็นแนวไหน หรือว่าจะเป็นเนื้อเรื่องอะไร ส่วนหลายคนเอามาเป็น ไดอะรี่ นั้น ผิดไหม คงไม่ผิด คือมันแล้วแต่ว่า ผู้ดูแลจะเป็นอย่างไร
ข้อดี
1. มีลูกเล่นค่อยข้างมากกว่าที่อื่นไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ Layout, Music ,Photo เป็นต้น รวมทั้ง
2. มีการแสดงให้เห็นใน Contact list ของ MSN อีกด้วย (เป็นรูปดาวๆหน้าชื่อนั่นล่ะครับ )
3. สามารถกำหนดสิทธิคนที่จะเข้าดูได้หลายระดับ
ข้อเสีย
1. เปิดดูได้ช้ามาก ยิ่งเน็ต 56K คงแทบหมดสิทธิ หากบล็อกมีลูกเล่นเยอะ
1.ยังไม่สามารถใส่พวก script แบบไดอารี่ หรือ บล็อกในหลายๆ ที่ได้ (อันนี้ไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่สำหรับผม)
3. การเลือกจำนวนของ Entry หรือบทความที่จะแสดงในหน้าแรกของบล้อก ได้ต่ำสุดที่ 5 ดังนั้นใครที่นิยมเขียนอะไรยาวๆ ทำใจได้เลยครับว่า หน้าแรกของบล็อก คุณจะยาวสุดกู่เลยล่ะครับ สุดท้ายคือ
4. ความสามารถ ในส่วนของการกำหนดขนาดตัวอักษร ซึ่งผม ยังหาไม่เจอว่า มีการให้ใส่หรือ เลือกขนาดตัวอักษรสำหรับบทความได้ในจุดไหน ซึ่งอันนี้ผมคิดว่ามีความสำคัญทีเดียว การเล่นตัวอักษร เล็กใหญ่ มันช่วยเน้นข้อความและทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น สรุปใจความได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องอ่านทั้งหมด ก็ได้ซึ่ง การเล่นสีและตัวหนา เพียงอย่างเดียว มันยังไม่มากพอครับ
                 มายสเปซ (MySpace) เป็นเว็บไซต์ในรูปแบบของเครือข่ายชุมชน ชื่อดังเว็บหนึ่ง ให้บริการทำเว็บส่วนตัว บล็อก การเก็บ ภาพ วิดีโอ ดนตรี และเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่มคนอื่น มายสเปซมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เบเวอร์ลีย์ฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา  มายสเปซก่อตั้งเมื่อ สิงหาคม พ.ศ. 2546 โดย ทอม แอนเดอร์สัน และ คริสโตเฟอร์ เดอโวล์ฟ ในปัจจุบัน มายสเปซมีพนักงานกว่า 300 คน และในตัวเว็บไซต์มีผู้ลงทะเบียนมากกว่า 100 ล้านคน และมีผู้ลงทะเบียนใหม่ประมาณ 200,000 คนต่อวัน
Face Book  (www.facebook.com)
 Mark Zuckerberg ก่อตั้ง Facebook เว็บชุมชนออนไลน์ (Social-Networking Site) ที่กำลังได้รับความนิยมสุดขีดในขณะนี้ เมื่อ 3 ปีก่อน ขณะยังเรียนอยู่ที่ Harvard ก่อนจะลาออกกลางคัน เจริญรอยตาม Bill Gates แห่ง Microsoft เพื่อเป็น CEO ของเว็บชุมชนออนไลน์ที่เขาก่อตั้งขึ้น ด้วยวัยเพียง 22 ปี  ภายในเวลาเพียง 3 ปี เว็บที่เริ่มต้นจากการเป็นเว็บชุมชนออนไลน์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย กลายเป็นเว็บที่มีผู้ใช้ที่ลงทะเบียน 19 ล้านคน ซึ่งรวมถึงข้าราชการในหน่วยงานรัฐบาล และพนักงานบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้ เข้าเว็บนี้เป็นประจำทุกวัน และขณะนี้กลายเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับ 6 ในสหรัฐ 1% ของเวลาทั้งหมดที่ใช้บน Internet ถูกใช้ในเว็บ Facebook
นอกจากนี้ยังได้รับการจัดอันดับเป็นเว็บที่ผู้ใช้ Upload รูปขึ้นไปเก็บไว้มากเป็นอันดับหนึ่งของสหรัฐฯ โดยมีจำนวนรูปที่ถูก Upload ขึ้นไปบนเว็บ 6 ล้านรูปต่อวัน และกำลังเริ่มจะเป็นคู่แข่งกับ Google และเว็บยักษ์ใหญ่อื่นๆ ในการดึงดูดวิศวกรรุ่นใหม่ใน Silicon Valley นักวิเคราะห์คาดว่า Facebook จะทำรายได้ 100 ล้านดอลลาร์ในปีนี้

                    Zuckerberg เพิ่งปฏิเสธข้อเสนอซื้อของ Yahoo ซึ่งเสนอซื้อ Facebook ด้วยเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ ก่อนหน้านี้ก็มีข่าวลือว่า Viacom เสนอซื้อ Facebook ด้วยเงิน 750 ล้านดอลลาร์ คำถามคือ การตัดสินใจของ Zuckerberg ครั้งนี้ ถูกต้องหรือไม่ ในช่วงไม่ถึง 2 ปีที่ผ่านมา มีเว็บยุคใหม่ที่เรียกว่า Web 2.0 ที่โด่งดัง 2 แห่ง ที่เพิ่งถูกขายให้แก่บริษัทยักษ์ใหญ่ นั่นคือ MySpace ที่ถูก News Corp ซื้อไปด้วยเงิน 580 ล้านดอลลาร์ และ YouTube ที่ยอมรับเงิน 1.5 พันล้านดอลลาร์จาก Google  ขณะที่ในอดีตเว็บ Friendster เว็บชุมชนออนไลน์ที่โด่งดังเป็นเว็บแรก เคยปฏิเสธการเสนอซื้อด้วยเงิน 30 ล้านดอลลาร์จาก Google ในปี 2002 ซึ่งหากจ่ายเป็นหุ้น ป่านนี้คงมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 1 พันล้านดอลลาร์ แต่หลังจากนั้น Friendster ซึ่งเป็นเว็บรุ่นเก่า ก็ถูกบดบังรัศมีโดยเว็บรุ่นใหม่ๆ Facebook จะประสบชะตากรรมอย่างเดียวกับ Friendster หรือไม่ ในขณะที่เว็บชุมชนออนไลน์ใหม่ๆ เกิดขึ้นแทบไม่เว้นแต่ละวัน  Zuckerberg ยอมรับว่าเขาเป็น Hacker แต่ไม่ใช่ในความหมายของนักเจาะระบบ Hacker ของเขาหมายถึงการนำความพยายามและความรู้ที่ทุกคนมีมารวมกัน แบ่งปันกัน เพื่อบรรลุสิ่งที่ดีกว่า เร็วกว่าหรือใหญ่กว่า ซึ่งคนๆ เดียวทำไม่ได้ โดยให้ความสำคัญกับการเปิดกว้าง การแบ่งปันข้อมูล เขาสร้างสิ่งที่เรียกว่า Hackathon ใน Facebook ซึ่งคล้ายกับการระดมสมองสำหรับวิศวกร  อย่างไรก็ตาม Facebook กลับมีกำเนิดมาจากการเจาะระบบจริงๆ เมื่อ Zuckerberg เรียนอยู่ที่ Harvard เขาพบว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่มีหนังสือรุ่นที่เรียกว่า Face Book ซึ่งจะเก็บรายชื่อนักศึกษาพร้อมรูปและข้อมูลพื้นฐาน เหมือนอย่างมหาวิทยาลัยทั่วไป Zuckerberg ต้องการจะทำหนังสือรุ่นออนไลน์ของ Harvard แต่ Harvard กลับปฏิเสธว่า ไม่สามารถจะรวบรวมข้อมูลได้  Zuckerberg จึงเจาะเข้าไปในระบบทะเบียนประวัตินักศึกษาของ Harvard และทำเว็บไซต์ชื่อ Facemash ซึ่งจะสุ่มเลือกรูปของนักศึกษา 2 คนขึ้นมา และเชิญให้ผู้เข้ามาในเว็บเลือกว่า ใครฮอตกว่ากัน  ภายในเวลาเพียง 4 ชั่วโมง มีนักศึกษาเข้าไปในเว็บของ Zuckerberg 450 คน และมีสถิติการชมภาพ 22,000 ครั้ง ทำให้ Harvard ห้าม Zuckerberg ใช้ Internet และเรียกตัวไปตำหนิ เหตุการณ์จบลงโดย Zuckerberg กล่าวขอโทษเพื่อนนักศึกษา แต่เขายังคงเชื่อมั่นว่า สิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้อง  ต่อมา Zuckerberg จัดทำแบบฟอร์ม Facebook เพื่อให้นักศึกษาเข้ามาเขียนข้อมูลของตนเอง Thefacebook.com ซึ่งเป็นชื่อเริ่มแรกของ Facebook เปิดตัวเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2004 ภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์ นักศึกษาครึ่งหนึ่งของ Harvard ลงทะเบียนในเว็บแห่งนี้ และเพิ่มเป็น 2 ใน 3 ของนักศึกษา Harvard ทั้งหมดในเวลาอันรวดเร็ว นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นเริ่มติดต่อ Zuckerberg ขอให้ทำหนังสือรุ่นออนไลน์ให้แก่มหาวิทยาลัยของพวกเขาบ้าง จึงเกิดพื้นที่ใหม่ใน Facebook สำหรับ Stanford และ Yale ภายในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน โรงเรียนอีก 30 แห่งเข้าร่วมใน Facebook ตามมาด้วยโฆษณาที่เกี่ยวกับนักเรียนนักศึกษา และธุรกิจที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย ทำให้เว็บชุมชนแห่งนี้ เริ่มสร้างรายได้หลายพันดอลลาร์  ขณะนี้ Facebook กำลังจะเพิ่มจำนวนวิศวกรจาก 50 คนอีกเท่าตัวภายในปีนี้ และเพิ่มจำนวนพนักงานบริการลูกค้าซึ่งมีอยู่ 50 คน เพราะจำนวนผู้ใช้รายใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างท่วมท้น 100,000 คนต่อวันในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตลาดมหาวิทยาลัยในแคนาดาและอังกฤษของ Facebook เติบโตเกือบ 30% ต่อเดือน (มีข่าวว่า เจ้าชาย Harry แห่งอังกฤษและเพื่อนสาวคนสนิทก็เป็นผู้ใช้ Facebook ด้วย) และ 28% ของผู้ใช้ Facebook ทั้งหมด อยู่นอกสหรัฐฯ นอกจากนี้ อายุของผู้ใช้ Facebook เริ่มหลากหลายมากขึ้น ผู้ใช้อายุ 25-34 ปีมี 3 ล้านคน อายุ 35-44 ปีมี 380,000 คน และอายุเกิน 64 ปีมี 100,000 คน  3 ปีก่อน Zuckerberg มาถึง Palo Alto ด้วยมือเปล่า และยังเป็นนักศึกษาของ Harvard แต่ขณะนี้เขาเป็นผู้บริหารเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ที่กำลังฮอตที่สุด และเพิ่งได้รับเชิญไปกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมผู้นำการเมืองและเศรษฐกิจโลกที่เมือง Davos สวิตเซอร์แลนด์ในปีนี้ รวมทั้งเพิ่งปฏิเสธข้อเสนอซื้อมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์อย่างไม่ใยดี
Orkut  (www.orkut.com)
                  เว็บไซต์หาเพื่อนสำหรับกลุ่มนักท่องเว็บขี้เหงานั้นครองความนิยมมายาวนาน จนเกิดเว็บไซต์ใหม่ขึ้นมามากมาย แม้เต่เจ้าพ่อเสิร์จเอนจินอย่างกูเกิล (Google) เองก็ไม่ยอมน้อยหน้า ก้าวเท้าเดินตามรอยเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง Friendster เพื่อเข้าสู่วงการ social networking ด้วยการเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาโดยให้ทีมวิศวกรของกูเกิลทำเป็นโปรเจคของตัวเอง กูเกิลใช้กลยุทธโปรเจคส่วนตัวนี้เพื่อสร้างเว็บไซต์ใหม่ๆขึ้นมาได้อย่างชาญฉลาด โดยเว็บไซต์นี้ใช้ชื่อว่า Orkut.com เพื่อใช้เป็นเว็บไซต์เชื่อมต่อระหว่างเพื่อนถึงเพื่อน ให้คุณสามารถสร้างความสนิทสนมได้บนความสะดวกสบาย
                   การเป็น social networking นั้นอาจจะเรียกได้ว่า เป็นเน็ตเวิร์กกระชับมิตร เพราะด้วยความที่ให้บริการเป็นชุมชนออนไลน์ ยูสเซอร์อาจจะใช้เครือข่ายนี้เป็นตัวเชื่อมต่อเพื่อพูดคุยกับเพื่อนฝูง หรืออาจจะหาเพื่อนใหม่เพื่อนัดเดท ซึ่งไม่ต่างอะไรจากเว็บไซต์หาเพื่อน ที่เคยฮอตฮิตในเมืองไทยบ้านเราอยู่พักใหญ่ เว็บไซต์ที่เข้าข่าย social networking นี้ จะเปิดให้ยูสเซอร์ตั้งชื่อ และเลือกชุมชนที่ต้องการ โดยจะสามารถโต้ตอบกับผู้คนที่อยู่บนเครือข่ายได้อย่างง่ายดาย แต่ในบางประเทศก็มีการนำเอา social networking นี้มาใช้ในการพัฒนาชุมชน โดยใช้เครือข่ายเป็นเครื่องมือในการเชื่อมต่อประชาชนในชุมชนกับกลุ่มองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้ประชาชนในชุมชน สามารถถ่ายทอดปัญหาและความต้องการได้โดยตรง จุดนี้เป็นประโยชน์อย่างมากในด้านการแสดงความคิดเห็น การเฝ้าระวังข้อมูล การมีส่วนร่วม การสะท้อนมุมมอง และการระดมทุน  ในงานแถลงข่าว Orkut.com มีการเปิดเผยรายละเอียดของเว็บไซต์นี้ว่า จุดประสงค์หลักของบริการจาก Orkut.com คือการช่วยให้คุณและเพื่อนๆ สามารถติดต่อสื่อสารกันด้วยความสะดวกสบายมากขึ้นผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์นี้จะเปิดโอกาสให้เหล่าเพื่อนฝูงมาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน  การเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ Orkut.com จะต้องได้รับเชิญจากคนที่เป็นสมาชิกอยู่ก่อนเท่านั้น ซึ่งในขณะนี้มีสมาชิกนับพันกว่าคนแล้ว สมาชิกส่วนใหญ่เป็นพนักงานของกูเกิลแทบทั้งนั้น หน้าตาอินเตอร์เฟสของ Orkut.com นี้มีลักษณะคล้ายกับเว็บไซต์ social networking ทั่วๆไปอย่างเช่น Friendster, Tribe.net เว็บไซต์กระชับมิตรเหล่านี้เป็นที่จับตามองอย่างมากในปีที่ผ่านมา  แม้ว่าจะยังไม่มีใครสามารถทำกำไรมหาศาลจากเว็บไซต์ประเภทนี้ แต่โมเดลของ social-networking ก็เป็นที่จับตามองของบรรดานักลงทุนและผู้สร้างเว็บไซต์ทั้งหลาย ล่าสุดสำนักงานใหญ่ของกูเกิลที่แคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นที่ตั้งในการสร้าง Orkut.com นั้นออกมาบอกว่า กูเกิลกำลังสร้างจุดเด่นให้เหนือกว่าบรรดาเว็บไซต์ที่อยู่ในตลาดชุมชนออนไลน์ด้วยการพยายามรวบรวมข้อมูลต่างๆให้ครบถ้วน ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีที่แล้วจากที่เห็นใน Blogger.com พัฒนาโดยกลุ่ม Pyra Labs
       
กลยุทธ์โปรเจคส่วนตัว
      
                   ชื่อเรียก Orkut นั้นมาจากชื่อผู้สร้างคือ Orkut Buyukkokten (ออกัต บายุกอกเท็น) ซึ่งเป็นวิศวกรของกูเกิลที่สนใจเรื่องของชุมชนออนไลน์ กูเกิลสนับสนุนการสร้าง Orkut.com ด้วยการให้วิศวกรสามารถใช้เวลาหนึ่งวันต่อสัปดาห์เพื่อทำโปรเจคส่วนตัวของแต่ละคนในเวลางาน Eileen Rodriguez (ไอลีน โรดริกูเอซ์) ประชาสัมพันธ์ของกูเกิลกล่าวอีกด้วยว่า หากโปรเจคไหนน่าสนใจก็จะได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ โดยการทดลองออนไลน์จริงเพื่อดูผลตอบรับจากบรรดานักท่องเน็ต   โปรเจคส่วนตัวแแบบนี้ ทำให้เกิดบริการใหม่ๆที่เป็นประโบชน์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย อย่างเช่น บริการ 2 บริการในเครือของกูเกิลที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ กูเกิล นิวส์ (Google News) และ ฟลอกเกอร์ (Froogle) ทั้ง 2 บริการนี้เป็นบริการเบต้าเวอร์ชั่น คำว่าเบต้าเวอร์ชั่นนั้น คือการอยู่ในระหว่างการทดลองใช้ โดยกูเกิล นิวส์นั้นเป็นเว็บไซต์บริการข่าวจากกูเกิล ส่วนฟลอกเกอร์ เป็นเว็บไซต์ช่วยเสิร์จสินค้าในแคตตาล็อก
                     Rodriguez กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าทางกูเกิลเปิดโอกาสให้กับวิศวกรของกูเกิล ด้วยการพยายามสนับสนุนให้พวกเขาใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ ส่วนเรื่องของลิขสิทธิ์นั้น อย่างเช่นในกรณี Orkut.com ตราบใดที่มีการพัฒนาเว็บไซต์ในเวลางานของกูเกิล กูเกิลก็จะยังเป็นเจ้าของลิขสิทธ์อยู่ แต่ว่าจะไม่ได้บรรจุอยู่ในรายการพอร์ตฟอริโอ ที่เก็บผลงานผลิตภัณฑ์ของกูเกิลอย่างเป็นทางการ  ภายใน Orkut.com มีการใช้คำว่า"ในเครือกูเกิล"อยู่ด้านล่างของเว็บ แม้ว่า Orkut.com นั้นจะไม่ได้ใช้เซิร์ฟเวอร์ที่เกี่ยวข้องกับกูเกิลเลยก็ตาม นั่นหมายความว่า Orkut.com จัดทำขึ้นโดยบายุกอกเท็นและทีมงานของเขาเท่านั้น นี่เป็นอีกก้าวหนึ่งของกูเกิลที่น่าจับตามองว่า ต่อไปจะมีบริการใหม่อะไรเกิดขึ้นในเครือของกูเกิลอีกหรือไม่
Bebo  (www.bebo.com)

                   Bebo เป็นเครือข่ายทางสังคมแห่งยุคอนาคตที่ทำให้นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัยสามารถติดต่อกับเพื่อน หาเพื่อนที่ขาดการติดต่อกันไปนาน และพบปะกับผู้คนใหม่ๆ หลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนก.ค.ปีที่แล้ว ในเวลาแค่ 7 เดือน เครือข่ายทางสังคมแห่งนี้ก็มีสมาชิกจดทะเบียนมากกว่า 22 ล้านรายที่เข้ามาดูหน้าเว็บเพจถึงกว่า 700 ครั้งต่อเดือน Bebo เป็นบริษัทเอกชนที่บริหารงานโดยทีมบริหารที่มีประสบการณ์ในเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัทได้เปิดตัวเว็บไซท์เครือ ข่ายสังคมลำดับแรกๆคือ Ringo.com ซึ่งต่อมาเขาได้ขายเว็บดังกล่าวให้แก่ Tickle (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Monster ในปัจจุบัน) และล่าสุด อดีตประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจจาก Friendster ได้เข้ามาร่วมงานกับ Bebo นอกจากนี้ ทีมงานของ Bebo.com ยังเปิดเว็บไซท์อีกเว็บที่ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก (word of mouth) นั่นคือ BirthdayAlarm.com ซึ่งมีสมาชิก 40 ล้านคน  Bebo เป็น Social Network ที่ถูกออกแบบมาดี โทนสีของเว็บไซต์ดูแล้วสบายตา ใช้งานง่าย มีการจัดระบบติดต่อผู้ใช้ได้ดี คนที่ไม่มีพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้แบบไม่ติดขัด รูปร่างหน้าตาของบล็อกดูไม่รกหูรกตา รองรับการปรับแต่งได้หลากหลาย
                   WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยใช้รูปแบบการแสดงผล HTML ที่นิยมใช้ใน World Wide Web.. WebBoard อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเวปไซต์ และผู้พัฒนาเวปไซต์ สามารถตั้งหัวข้อกระทู้ เพื่อประกาศข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก GuestBook ตรงที่ WebBoard จะสามารถแยก หัวข้อต่างๆ ออกเป็นกระทู้ๆ มีความโต้ตอบกันในการสนทนา ในหัวข้อเดียวกันมากกว่า กล่าวได้ว่า WebBoard คือพัฒนาการในรูปแบบใหม่ ของระบบการสนทนาใน BBS (Bulletin Board System) ที่เคยได้รับความนิยม ก่อนที่ระบบเครือข่าย Internet จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น WebBoard ที่พบเห็นกัน มีอยู่หลายรูปแบบ สำหรับโปรแกรม D'Board ที่เปิดให้ใช้บริการนี้ จะเป็น WebBoard ในลักษณะเดียว (รูปแบบคล้าย) กับที่ใช้ใน pantip.com
 
    ข้อดีของการใช้ Webboard

    * เป็นช่องทางในการติดต่อ ประกาศข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
    * ทำให้เกิดสังคม ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ระหว่างกลุ่มผู้เยี่ยมชม
    * ผู้พัฒนาโฮมเพจ สามารถใช้เป็นช่องทางในการ ประกาศข่าวใหม่ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นได้
    * ง่ายในการใช้งาน แม้จะเป็นผู้เริ่มต้น เมื่อเทียบกับการใช้ Mailing list หรือ News Group
     ข้อดีของการใช้ D'Board
    * ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม CGI script
    * ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม CGI script ใน Server เอง
    * สามารถนำไปใช้ได้ แม้ว่า Server ของคุณจะไม่อนุญาตให้ติดตั้ง CGI script ได้เอง
    * สามารถกำหนดรูปแบบ ของหน้าต่างๆ ของ WebBoard ของคุณได้เอง โดยผ่านระบบการจัดการที่เตรียมไว้ให้
    * สามารถใช้ HTML code แตกหน้าตา หน้าต่างๆของ WebBoard ของคุณได้ (รวมถึง Java และ Javascript ด้วยท    เช่นกัน)
    * สามารถลบ และแก้ไข ข้อความ ที่มีผู้มาลงไว้ใน WebBoard ได้
    * สามารถใช้งานได้ ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นด้วยเวลาไม่ถึง 3 นาที ในการกรอกแบบฟอร์ม สมัครเป็นสมาชิก คุณก็สามารถ นำ WebBoard ของคุณไปใช้งาน ในโฮมเพจหรือเวปไซต์ ของคุณได้ทันที
    * และอื่นๆ...


                   MSN Messenger คืออะไร? ทางนี้มีคำตอบครับ เจ้า MSN Messenger หรือที่ เราชอบเรียกกันว่า msn เนี่ย มันก็คือ โปรแกรมส่งข้อความข้าม ระบบเน็ทเวิร์ค แบบทันทีทันใด หรือภาษาฝรั่งเรียกว่า IM (Instant Messenger) ถ้าคุณเคยเล่นโปรแกรม ICQ IRC หรือ Pirch ก็เข้าข่ายเป็นโปรแกรมพวกเดียวกัน แหละครับ!  ทีนี้ทำไม เจ้า msn เนี่ยมันถึงฮิตติดชารจ์ขึ้นมา ก็เนื่องจากความง่ายของการใช้งาน เช่นคุณแค่มี E-mail ของ hotmail หรือ msn คุณก็สามารถเล่นเจ้า msn ได้ทันที แถมมันยังผนวกกับ email ของเราซะอีก โดยที่ เมื่อใดก็ตามที่มีเมล์ เข้ามาถึงเรา เจ้า msn มันก็จะแจ้ง ให้คุณทราบทันที นอกจากนั้น ความเร็วของการ รับและส่งข้อความระหว่างกัน ก็ทำได้อย่างรวดเร็ว หน้าตาโปรแกรมที่สวยงาม แถมเวอร์ชันใหม่ เรายังสามารถใส่รูปของเราได้อีกด้วย! แจ๋วจริงๆ แฮะ

จากรูปด้านบน คือหน้าตาของโปรแกรม msn ครับซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองส่วน

                    1. หน้าต่างหลัก: ที่หน้าต่างนี้จะแสดงชื่อของเพื่อนๆ เราครับ ทั้งคนที่ online และ offline ซึ่งเวลาเราจะคุยกับเพื่อนคนไหน ก็สามารถดับเบิ้ลคลิ๊ก ที่ชื่อแล้ว หน้าต่างอีกอันจะแสดงขึ้นมา (รูปด้านขวามือ) เราก้อสามารถพิมพ์ข้อความส่งให้เพื่อนได้ทันที
                    2.หน้าต่างที่เราคุยกับเพื่อน: ที่หน้าต่างนี้เราสามารถพิมพ์ข้อความ คุยกับเพื่อนได้ทันที แล้วคุณยังสามารถให้ msn แสดงรูปภาพของเรา โดยที่ ทางฝั่งเพื่อนของเรา ก็จะเห็นรูปดังกล่าวเช่นกัน อีกทั้งยังสามารถส่ง icon ต่างๆ เพื่อสื่ออารมณ์ เพิ่มความสนุกสนานในการ chat ได้อีกด้วย
Youtube คืออะไร
                    เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรี โดยนำเทคโนโลยีของ Adobe Flash มาใช้ในการแสดงภาพวิดีโอ ซึ่งยูทูบมีนโนบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือยและคลิปที่มีลิขสิทธิ์ นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเอง  เมื่อสมัครสมาชิกแล้วผู้ ใช้จะสามารถใส่ภาพวิดีโอเข้าไป แบ่งปันภาพวิดีโอให้คนอื่นดูด้วย  แต่หากไม่ได้สมัครสมาชิกก็สามารถเข้าไปเปิดดูภาพวิดีโอที่ผู้ใช้คนอื่น ๆ ใส่ไว้ใน Youtube ได้  แม้จะก่อตั้งได้เพียงไม่นาน (youtube ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005) Youtube เติบโตอย่างรวดเร็วมาก เป็นที่รู้จักันแพร่หลายและได้รับความนิยมทั่วโลก ต่อมาปี ค.ศ.2006 กูเกิ้ลซื้อยูทูบ ตอนนี้ยูทูบจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิ้ลแล้ว  สำหรับแฟนๆ ฟอร์เวิร์ดเมล ไม่ว่าจะเป็นกรุ๊ปเมลหรือเพื่อนๆ ฟอร์เวิร์ดมาให้ก็ตามน่าจะคุ้นเคยกับ YouTube กันบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่มีคลิปวิดีโอหลุดๆ จากดาราชื่อดังหรือดาราจำเป็นทั้งหลาย โดยมากไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ๆ เหล่านี้ก็จะเอาไปฝากไว้ในเว็บที่เขารับฝาก และ YouTube ก็เป็นแหล่งเก็บคลิปวิดีโอแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกอินเทอร์เน็ต  แต่เมื่อกูเกิ้ลตัดสินใจซื้อ YouTube ล่ะ มันมีความหมายอย่างไร อะไรอยู่เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการตัดสินใจครั้งนี้ เรามาค้นหากัน
                    YouTube เป็นเว็บไซต์แลกเปลี่ยนภาพวิดีโอที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ที่สำคัญทุกอย่างที่นี่ฟรี โดยในเว็บไซต์นี้ ผู้ใช้สามารถใส่ภาพวิดีโอเข้าไป เปิดดูภาพวิดีโอที่มีอยู่ และแบ่งภาพวิดีโอ เหล่านี้ให้คนอื่นดูได้ด้วย
                    YouTube ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2005 โดยอดีตพนักงานของ PayPal สามคนด้วยกัน (ปัจจุบัน PayPal ถูก eBay ซึ้อไปเรียบร้อยแล้ว) ใน YouTube จะมีบริการแสดงภาพวิดีโอซึ่งอาศัยเทคโนโลยีของ Adobe Flash ในการแสดงภาพวิดีโอ (Adobe Flash หรือที่หลายๆ คนรู้จักในชื่อของ Macromedia Flash หรือ Flash (แฟลช) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นิยมมาก ในการทำภาพแอนิเมชั่นและการทำโปรแกรมเล็กๆ ที่ใช้สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าชมเว็บ โดยมีซอฟต์แวร์ ระบบ และอุปกรณ์หลายชนิดที่สามารถสร้างแฟลชและแสดงแฟลชได้ แฟลชจึงสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสร้างแอนิเมชั่น โฆษณา สร้างส่วนประกอบของหน้าเว็บ รวมภาพวิดีโอเข้าไปในหน้าเว็บ รวมถึงการสร้างพอร์ทัล) ใน YouTube จะมีข้อมูลเนื้อหารวมถึงคลิปภาพยนตร์สั้นๆ และคลิปที่มาจากรายการโทรทัศน์ มิวสิกวิดีโอ และวิดีโอบล็อกกิ้ง (ซึ่งเป็นการสร้างบล็อกโดยมีส่วนของข้อมูลที่เป็นภาพ วิดีโอเป็นส่วนประกอบด้วย โดยเฉพาะเป็นภาพวิดีโอที่เกิดจากมือสมัครเล่นถ่ายกันเอง) ปัจจุบัน YouTube มีพนักงานเพียง 67 คนเท่านั้น  YouTube เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และได้รับความ สนใจเป็นอันมาก โดยเฉพาะการบอกแบบปากต่อปากที่ทำให้การเติบโตของ YouTube เป็นไป อย่างรวดเร็วมากจริงๆ YouTube มาเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายต่อเนื่อง เมื่อมีการนำภาพวิดีโอช่วง Lazy Sunday ของรายการ Saturday Night Live มาแสดงบนเว็บ ซึ่งต่อมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซี (NBC) ก็ได้เรียกร้องให้ทางYouTube เอาคลิปวิดีโอที่มีลิขสิทธิ์ทั้งหลายออกจากเว็บ ซึ่ง YouTube เองก็มีนโยบายที่จะไม่เอาคลิปที่ละเมิดลิขสิทธิ์มาแสดงเช่นกัน นั่นทำให้ต่อมา You Tube กำหนดนโยบายที่ชัดเจนขึ้นในเรื่องนี้ โดยกำหนดให้คลิปวิดีโอมีความยาวสูงสุดเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้นยกเว้นเป็นคลิปที่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นจากคนทำภาพยนตร์มือสมัครเล่นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ YouTube ก็หาทาง ออกโดยการแบ่งภาพวิดีโอของตนเป็นชิ้นย่อยๆ แต่ละชิ้นยาวน้อยกว่า 10 นาทีแทน  อย่างไรก็ตาม กรณีพิพาทกับสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซีก็ทำให้ YouTube เป็นข่าวและเพิ่มความดังมากขึ้นไปอีก และต่อมาเอ็นบีซีก็เห็นถึงประสิทธิภาพของ YouTube และตัดสินใจ ดำเนินยุทธศาสตร์ที่ต่างไปจากเดิม โดยประกาศให้ YouTube เป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์แทน โดย YouTube จะเป็นคนโฆษณารายการของเอ็นบีซีในรูปของวิดีโอคลิปในเว็บของ YouTube เช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส (CBS) ที่เริ่มต้นเหมือนกับเอ็นบีซีและเลือกลงท้ายเหมือนกับเอ็นบีซีเช่นเดียวกัน เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา YouTube ประกาศว่าภายใน 18 เดือนข้างหน้านี้ พวกเขา จะสามารถเปิดให้เข้ามาดูมิวสิกวิดีโอทุกเพลงที่เคยสร้างขึ้นมาได้ และแน่นอน ทุกอย่างฟรีหมด โดยวอร์เนอร์มิวสิค (Warner Music) และอีเอ็ม ไอ (EMI) ได้ยืนยันแล้วว่าพวกเขาเป็นหนึ่งในบริษัทที่กำลังเจรจาในรายละเอียดกับ YouTube อยู่ และเดือนกันยายนที่ผ่านมา วอร์เนอร์มิวสิก และ YouTube ก็ได้เจรจาข้อตกลงที่ YouTube จะเป็นที่เก็บมิวสิกวิดีโอทุกเพลงที่วอร์เนอร์มิวสิค ผลิตขึ้นมา โดยพวกเขาจะแบ่งรายได้จากโฆษณา กัน นอกจากนี้ใครก็ตามที่สร้างคลิปวิดีโอเพื่อแสดงบน YouTube ก็สามารถนำเพลงของวอร์เนอร์มาใช้เป็นซาวด์แทร็กต์ได้ โดยไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด  9 ตุลาคมที่ผ่านมา ซีบีเอสรวมถึงยูเอ็มจี (UMG-Universal Music Group) และโซนี่บีเอ็มจี (Sony BMG) ก็ตัดสินใจที่จะแสดงงานของตนบน YouTube เช่นกัน  ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทันที เมื่อกูเกิ้ล ประกาศเมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่าตกลงตัดสินใจเข้าซื้อ YouTube ด้วยมูลค่า 1,650 ล้านเหรียญสหรัฐ ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนหุ้น อย่างไรก็ตาม YouTube ก็ยังคงดำเนินกิจกรรม ของบริษัทไปตามปกติ โดยเป็นอิสระจากการควบคุมของกูเกิ้ล โดยกูเกิ้ลมองว่า YouTube เป็นชุมชนออนไลน์ทางด้านวิดีโอเพื่อความบันเทิง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีการเติบโตรวดเร็วที่สุด ในขณะที่กูเกิ้ลมองตัวเองว่าเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญ ทางด้านการจัดการข้อมูลสารสนเทศ และการสร้างโมเดลใหม่ทางด้านการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต การรวมกันของสองบริษัทนี้จะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสบการณ์ที่ดีขึ้นและเข้าใจได้มากขึ้น สำหรับผู้ใช้ที่สนใจในการอัพโหลด การดูวิดีโอ และการแชร์ภาพวิดีโอ รวมถึงการนำเสนอโอกาสใหม่ๆ สำหรับผู้เป็นเจ้าของ ข้อมูล (Content) ที่เป็นมืออาชีพที่จะนำเสนองานของพวกเขาไปสู่คนวงกว้าง  เมื่อมองถึงโมเดลการสร้างรายได้ของ YouTube นั้นโมเดลธุรกิจของ YouTube จะอาศัยการโฆษณาเป็นหลัก นักวิเคราะห์ทางอุตสาหกรรม บางคนเห็นว่า YouTube มีค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงาน (running cost) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง YouTube ต้องการใช้แบนด์วิธซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน ดังนั้นจึงทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่อตัวบริษัทในทำนองว่าจะเหมือนๆ กับบริษัทที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต หลายๆ แห่ง ที่ไม่มีโมเดลธุรกิจใดที่สามารถใช้งานได้ การใช้โฆษณาเริ่มเข้าปรากฏชัดเจนบนเว็บไซต์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2006 ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา YouTube ได้เริ่มใช้ Google AdSense ซึ่งเป็นโปรแกรมบริหารจัดการโดยกูเกิ้ลในการคำนวณรายได้จากโฆษณาที่ปรากฏในเว็บไซต์นั้นๆ แต่ YouTube สุดท้ายก็หยุดใช้ AdSense ในที่สุด นักวิเคราะห์บางคนคิดคำนวณว่า YouTube อาจจะมีรายได้มากถึงหลายล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน ซึ่งก็จะทำให้ YouTube สามารถสร้างรายได้สุทธิได้มากมายในแต่ละเดือน
แต่เมื่อกูเกิ้ลเข้ามาซื้อ YouTube ไป การเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นกับ YouTube อย่างแน่นอน ในอนาคตอันใกล้แม้จะมีการออกมาบอกว่า YouTube จะได้รับอิสระในการบริหารจัดการก็ตามที แน่นอนว่าระบบการจัดการรายได้ โดยเฉพาะการกำหนดโมเดลการสร้างรายได้ใหม่ๆ ในเว็บไซต์ของ YouTube จะต้องเกิดขึ้น แต่ที่เราพอจะวางใจได้ในฐานะคนใช้งานและคนใช้บริการเว็บไซต์ YouTube ก็คือ ทุกอย่างน่าจะยังคงฟรีต่อไปอีก เพราะที่ผ่านมาการให้บริการของกูเกิ้ลก็เป็นในลักษณะให้บริการฟรีเกือบทั้งสิ้น โดยเฉพาะการสร้างโมเดลธุรกิจที่อิงกับการอาศัยของฟรีเป็นตัวกำหนดตลอดมา  เมื่อมองถึงวงการบันเทิง การที่กูเกิ้ลเข้าครอบครอง YouTube จะเป็นการเพิ่มช่องทางในการแข่งขันในธุรกิจบันเทิงที่สำคัญยิ่ง ที่ผ่านมาจะเห็นการเริ่มเคลื่อนไหวที่ชัดเจนของยักษ์ใหญ่ในวงการอินเทอร์เน็ตในการเปิดให้บริการภาพยนตร์รวมถึงรายการโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่เริ่มจะเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ การประกาศเข้าเทกโอเวอร์ของกูเกิ้ลครั้งนี้จึงเป็นจิ๊กซอว์ที่เข้ามาเติมเต็มการวาดภาพอนาคตของกูเกิ้ลในวงการบันเทิงที่ให้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ความเคลื่อนไหวในการแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดสินค้าบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นเพลง ภาพยนตร์ และรายการโทรทัศน์ ที่มีบริษัทในวงการอินเทอร์เน็ตเข้าไปเกี่ยวข้องแบบเกาะติดมากขึ้นจึงดุเดือดเลือดพล่านในระดับที่คนเฝ้าดูอย่างเราๆ ไม่สามารถกระพริบตาได้ สิ่งที่จะต้องมองต่อไปก็คือ คู่แข่งของกูเกิ้ล จะว่าอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งในธุรกิจอินเทอร์เน็ตด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเป็นยาฮูและไมโครซอฟท์ แต่ยังรวมถึงคู่แข่งรายอื่นๆ อย่างในวงการมือถือและวงการสื่อสารมวลชน เป็นต้น
                   กูเกิ้ลชิงความได้เปรียบครั้งสำคัญโดยเฉพาะการเข้าครอบครองกิจการ YouTube ที่จะเป็นบันไดสำคัญในการเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดบันเทิงในอนาคต YouTube ที่มีการเติบโตอย่าง รวดเร็วด้วยโมเดลธุรกิจที่เหมือนกับการสร้างทำโฮมวิดีโอในสมัยก่อนแต่อาศัยช่องทางอินเทอร์เน็ตในการสร้างความนิยมอย่างรวดเร็ว กูเกิ้ลและ YouTube จึงเป็นการจับคู่ทางธุรกิจที่น่าสนใจที่สุดคู่หนึ่งในปีนี้ และจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง เชิงโครงสร้างของวงการบันเทิงในอนาคตอย่างแน่นอน  ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ส่วนใหญ่จะรู้จัก และชื่นชอบเว็บไซต์รวมคลิปวิดีโออย่าง YouTube ซึ่งก่อนหน้านี้ นิตยสารคอมพิวเตอร์.ทูเดย์ได้จัดทำเป็นเรื่องเด่นประจำฉบับที่ 291 ปักษ์แรกเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ล่าสุดเว็บไซต์แชร์วิดีโออันดับหนึ่งของโลกได้ถูกแกะรอยสถิติโดยเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ วอลสตรีท เจอนัล ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลคร่าวๆ ว่า ขนาดของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้จัดเก็บวิดีโอทั้งหมดเป็นเท่าไร อัตราการเติบโต กิจกรรมของผู้ใช้ ตลอดจนคำยอดฮิตที่ใช้เป็นชื่อไตเติลวิดีโอ เราลองมาดูรายละเอียดของตัวเลขสถิติเหล่านั้นกันดีกว่า
- YouTube มีวิดีโอทั้งหมดมากกว่า 6 ล้านคลิป โดยอัตราการเพิ่มจำนวนคลิปวิดีโอ 20% ต่อเดือน
- คลิปวิดีโอทั้งหมดจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บถึง 45 เทอราไบต์ หรือเทียบเท่ากับความจุของฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ตามบ้านรวมกัน 5,000 ครัวเรือน
- หากคุณต้องการดูวิดีโอทั้งหมดใน YouTube จะต้องใช้เวลาทั้งสิ้น 9,305 ปี
- สำหรับคอนเท็นต์ที่เปิดให้บริการจะมีค่าแบนด์วิดธ์คิดเป็นเงินหลายล้านเหรียญฯ ต่อเดือน
- วิดีโอคลิปในเซ็คชั่น most popular จะมีเปอร์เซ็นต์ของแทรฟฟิกการเข้าชมสูงมากเป็นพิเศษ
- คำว่า “dance”, “love”, “music” และ “girl” ถูกใช้เป็นชื่อไตเติลของวิดีโอมากที่สุด  ด้วยขนาด และต้นทุนในการให้บริการฟรีของ YouTube ทำให้หลายคนสงสัยว่า อนาคตของเว็บไซต์แห่งนี้จะเป็นอย่างไร นักวิเคราะห์บางรายก็ทำนายว่า มันจะปิดตัวเองไปในที่สุด เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะค่าแบนด์วิดธ์ที่ใช้ในการส่งข้อมูล บางรายคาดว่า ไมโครซอฟท์ ยาฮู หรือบริษัทยักษ์ใหญ่จะเข้ามาโอบอุ้มในที่สุด แต่ถึงแม้จะเป็นอย่างนั้น คำถามที่ยังไม่มีคำตอบนั่นคือ รายได้จะมาจากไหน? (แม้กระทั่งบิลเกตส์เองก็เคยให้ทรรศนะว่า เขาเองก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกัน) เพราะวิธีที่จะหาเม็ดเงินหลายล้านเหรียญฯ ต่อเดือนจากรายได้โฆษณาบนเครือข่ายไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

อ่านเพิ่มเติม
1. Helft, M. (2006), 'With YouTube, Student Hits Jackpot Again,' The New York Times, October 12, 2006.
2. 'Google To Acquire YouTube for $1.65 Billion in Stock,' http://www.google.com
3. Boutin, P. (2006),'A Grand Unified Theory of YouTube and MySpace,' April 28, 2006, http://www.slate.com
4. Boutin, P. (2006), 'A Video History of YouTube,' October 18, 2006, http://www.slate.com
5. Patterson, T. (2006), 'Click, Respond, Repeat : How to watch web video,' October 18, 2006, http://www.slate.com
6. Levin, J. (2006), Groin Pains : The agonizing journey from America's funniest home videos to YouTube,' August 24, 2006, http://www.slate.com
7. Anderson, S. (2006), 'The Fab 4 Million : YouTube and the neglected art of lip-syncing,' April 28, 2006, http://www.slate.com
8. Levin, J. (2006),'YouTube's Zapruder films for sports junkies : How YouTube is making life miserable for referees,' October 18, 2006, http://www.slate.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น